วันนี้ (12 ธันวาคม 2567) เวลา 10.00 น. ณ สตูดิโอ 4 สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ถนนวิภาวดีรังสิต เขตดินแดง กรุงเทพฯ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี แถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 3 เดือน และมอบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรีให้แก่ข้าราชการระดับสูง ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง กรม และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ภายใต้แคมเปญ “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง 2025 Empowering Thais: A Real Possibility จากผลงานที่เป็นรูปธรรม สู่อนาคตที่ทำได้จริง” พร้อมมอบนโยบายให้แก่รองนายกฯ รัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบในแต่ละนโยบายด้วย โดยมี คณะรัฐมนตรี หัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ข้าราชการฝ่ายการเมืองหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมหรือเทียบเท่า ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โฆษกกระทรวง หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์การมหาชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องและสื่อมวลชนเข้าร่วมงาน พร้อมกันนี้ได้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) และ Facebook Live เพจ Live NBT2HD และ Facebook Live เพจไทยคู่ฟ้าให้ประชาชนทั่วประเทศได้ร่วมรับชมในโอกาสแถลงผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 3 เดือนครั้งนี้ด้วย
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดสาระสำคัญสรุป ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรวมทั้งสิ้น 11 นโยบาย แบ่งเป็นนโยบายระยะยาว ที่ต้องทำในเชิงโครงสร้าง 6 นโยบาย คือ การจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้ง , การแก้ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 , ปัญหายาเสพติด, การทลายการผูกขาด , การแก้ปัญหาธุรกิจนอกระบบ และนโยบายการลงทุนครั้งใหญ่ในอนาคต และเป็นนโยบายที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า จำนวน 5 นโยบาย คือ โครงการ SML, หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน, ดิจิทัลวอลเล็ต, การแก้หนี้ครัวเรือน และบ้านเพื่อคนไทย
นายกรัฐมนตรี กล่าวเริ่มต้นงานว่า ผลงานของรัฐบาลแพทองธาร เป็นผลงานที่ต่อเนื่องมาจากการบริหารงานของนายกฯ เศรษฐา วันนี้รัฐบาลแพทองธารได้ทำงานผ่านความร่วมมือของคณะรัฐมนตรี และพี่น้องข้าราชการ เพื่อพี่น้องประชาชนมาแล้ว 90 วันเต็ม ทำให้วันนี้ ‘ทุกคนคือทีมเดียวกัน’ และจะร่วมกันเดินไปข้างหน้าอย่างเต็มที่ วางรากฐานของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ให้คนไทยมีกิน-มีใช้-มีเกียรติ-มีศักดิ์ศรี ประเทศไทยในปี 2568 จะเป็นปีแห่ง “โอกาส” รัฐบาลจะสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างอนาคตที่เป็นจริง
นโยบายแรก คือ การแก้ไขปัญหา “น้ำท่วม-น้ำแล้ง” น้ำต้องเพียงพอสำหรับการอุปโภค บริโภค เกษตร และอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการทั้งระยะสั้น-กลาง-ระยะยาว ทั้งในเรื่องการศึกษาแนวทางที่จะอนุญาตให้ประชาชนขุดลอกคูคลองแล้วนำดินไปใช้หรือขายได้ และให้มีการศึกษาโครงการ Floodway และโครงสร้างขนาดใหญ่ที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืนด้วย รวมไปถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ต้องมีการเจรจาและประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการในเรื่องนี้
นโยบายต่อมาคือเรื่องปัญหา ‘หมอกควัน’ นายกรัฐมนตรีประกาศ KPI ว่า PM 2.5 จะต้องลดน้อยลง ทั้งในแง่ปริมาณฝุ่นและตัวเลขประชาชนที่ป่วยจากฝุ่น ต้องลดลงทุกปี โดยปัจจุบันรัฐบาลควบคุมการเผาในประเทศ การเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านให้ลดการเผา (มอบรองนายกฯ ประเสริฐฯ) และการออกกฎหมาย พ.ร.บ. อากาศสะอาด เช่นเดียวกับเรื่องยาเสพติด ที่จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรัฐบาลเอาจริงเรื่องนี้ และขอให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าสังเกต พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการทำแพลตฟอร์มให้ประชาชนได้สามารถแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับยาเสพติดส่งถึงนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง ซึ่งจะมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้แจ้งให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ รวมถึงรัฐบาลจะใช้โมเดล โครงการท่าวังผาโมเดลและธวัชบุรีโมเดล มาใช้ในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วย และให้มีการขยายการดำเนินการดังกล่าวไปทั่วประเทศต่อไป โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินการในเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “การผูกขาดทุกชนิด เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ประชาชน และทำให้พี่น้องประชาชนยากจนลง” รัฐบาลจะเร่งดำเนินการปลดล็อกการผูกขาด โดยเฉพาะ เรื่องข้าว ที่ตั้งเป้าให้เกษตรกรทุกคนและผู้ค้าข้าว SMEs สามารถส่งออกข้าวไปทั่วโลกได้เอง หรือการปลดล็อกการผูกขาดราคาพลังงานด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย เพื่อปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าพลังงานให้ถูกลงให้ได้ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ดำเนินการเรื่องนี้ ส่วนในเรื่องของกฎหมายหรือกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องและทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการแล้ว โดยขณะนี้ทุกกระทรวงกำลังพิจารณาดำเนินการแก้ไขในส่วนของกฎหมายและกฎต่าง ๆ อยู่
ประเด็นต่อมา รัฐบาลจะนำธุรกิจใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดินและกำกับให้ถูกกฎหมาย คาดว่าธุรกิจใต้ดินมีมูลค่ากว่า 49% ของ GDP ไทย รวมไปถึงการที่รัฐบาลจะส่งเสริมเรื่องของสุราชุมชน ซึ่งเชื่อว่าเกษตรกรจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ เนื่องจากพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของไทย เช่น ซอฟต์ดริงก์ ทั้งน้ำแร่ หรือน้ำหวานต่าง ๆ มีการส่งออกมากกว่าปีละ 7 หมื่นล้านบาท และรัฐสามารถเก็บภาษีได้ถึง 185,000 ล้านบาท/ปี การแก้ปัญหานี้จะทำให้รัฐบาลปกป้องประชาชนได้และยังเป็นรายได้ของรัฐบาลด้วย โดยนายกรัฐมนตรีฝากเรื่องนี้ให้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปดำเนินการต่อไป
ในเรื่องเทคโนโลยี และ AI รัฐบาลไทยตั้งเป้าจะเป็น AI Hub ของภูมิภาค เนื่องจากในปัจจุบัน มีบริษัทใหญ่มาลงทุนทำศูนย์ข้อมูล (Data center) เป็นเงินลงทุนมากกว่าล้านล้านบาทแล้ว ขณะนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างคนในเรื่องของเทคโนโลยีและ AI โดยให้ไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น ตั้งเป้า 280,000 คน ภายใน 5 ปี เพื่อให้ประเทศไทยรองรับกับธุรกิจนี้ในอนาคต รวมไปถึงการขับเคลื่อนดำเนินการในเรื่องพลังงานสีเขียว (Green Energy) เพื่อดึงดูดนักลงทุนและให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ในส่วนของนโยบายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการนำนโยบาย ‘หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน’ หรือ ODOS กลับมาอีกครั้ง โดยใช้งบประมาณจากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมทั้งมีโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปฝึกภาษาที่ต่างประเทศเป็นเวลาสั้น ๆ ในโครงการ ‘1 อำเภอ 1 ซัมเมอร์แคมป์’ และโครงการอัปเกรดโรงเรียนประจำอำเภอ ทำให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ เติมครู เติมเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และ AI ให้เด็ก ๆ ในทุกอำเภอ เพื่อเตรียมพร้อมเด็กไทยสู่การเติบโตที่เข้มแข็งและแข็งแรง และมีการศึกษาที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้จะเริ่มให้ลงทะเบียนในปี 2568 นี้ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดำเนินการและบูรณาการทำงานร่วมกันในเรื่องนี้
รวมไปถึงการให้โอกาสคนทุกตำบลหมู่บ้านในการคิดและลงมือแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านโครงการ SML ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จะกระจายโอกาสและเงินลงไปในทุกหมู่บ้าน พร้อมกับกองทุนเพื่อฟื้นฟู SME ซึ่งเป็นฐานรากของเศรษฐกิจไทยอีกกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อให้ SME กลับมายืนได้อย่างเข้มแข็ง
นอกจากนี้ยังมี โครงการ ‘บ้านเพื่อคนไทย’ (Public Housing) คอนโดคุณภาพดีพร้อมเฟอร์นิเจอร์พร้อมอยู่ เริ่มต้นประมาณ 30 ตารางเมตร ผ่อนเดือนละประมาณ 4,000 บาท เป็นเวลาประมาณ 25 ปี และให้สิทธิอยู่อาศัย 99 ปี ที่จะเป็นความหวังของคนไทยที่อยากมีบ้าน โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
อีกทั้ง รัฐบาลการดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องรถไฟฟ้า 20 ตลอดสายให้เกิดขึ้นจริง โดยขณะนี้ดำเนินการแล้วในสายสีแดงและสีม่วง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าและลดรายจ่ายให้ประชาชนด้วย
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีประกาศว่า จะดำเนินโครงการเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยเงินสดจะถึงมือผู้สูงอายุประมาณ 4 ล้านรายไม่เกินตรุษจีนนี้ หลังจากนั้น จะดำเนินการระยะที่ 3 สำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องพร้อมกับยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล เกิดการเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐและประชาชน ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
นโยบายสุดท้ายที่แถลง คือ การแก้หนี้ครัวเรือน โดยเน้นที่หนี้ ‘รถยนต์’ และ ‘บ้าน’ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคาร ตกลงที่จะลดการส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูลง 0.23% ซึ่งเป็นเงินกว่า 39,000 ล้านต่อปี และธนาคารพาณิชย์จะเติมให้อีก 39,000 รวมกันเป็น 78,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อพักดอกเบี้ย 3 ปี ให้ลูกหนี้จ่ายคืนเงินต้นได้เต็มจำนวน โดยจะเริ่มดำเนินการในต้นปี 2568 พร้อมมาตรการประนอมหนี้แบบพิเศษที่จะล้างหนี้ให้ทั้งหมด สำหรับลูกหนี้มูลหนี้ต่ำกว่า 5,000 บาท โดย 2 ปีกว่า ๆ ที่เหลืออยู่ของรัฐบาลประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และเศรษฐกิจต้องดีขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป
“ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจริงในปี 2568 ซึ่งเราได้เห็นกันแล้วว่า ความหวัง ความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นอนาคตที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และเกิดขึ้นอย่างแน่นอน วันนี้คณะรัฐมนตรี ทีมข้าราชการ นักการเมือง ประชาชน เราต่างมีหัวใจเดียวกันคือ การทำงานเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชน การทำให้ประไทยดีขึ้น วันนี้อยากให้เพื่อนข้าราชการทุกท่านยึดคติในใจว่า หลังจากนี้ จะเป็นปีแห่งการสร้าง ‘People Empowerment’ เพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจเรา หรือการลดและเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ” นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดสาระสำคัญสรุป ดังนี้
นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายรวมทั้งสิ้น 11 นโยบาย แบ่งเป็นนโยบายระยะยาว ที่ต้องทำในเชิงโครงสร้าง 6 นโยบาย คือ การจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้ง , การแก้ปัญหาหมอกควัน PM 2.5 , ปัญหายาเสพติด, การทลายการผูกขาด , การแก้ปัญหาธุรกิจนอกระบบ และนโยบายการลงทุนครั้งใหญ่ในอนาคต และเป็นนโยบายที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า จำนวน 5 นโยบาย คือ โครงการ SML, หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน, ดิจิทัลวอลเล็ต, การแก้หนี้ครัวเรือน และบ้านเพื่อคนไทย
นายกรัฐมนตรี กล่าวเริ่มต้นงานว่า ผลงานของรัฐบาลแพทองธาร เป็นผลงานที่ต่อเนื่องมาจากการบริหารงานของนายกฯ เศรษฐา วันนี้รัฐบาลแพทองธารได้ทำงานผ่านความร่วมมือของคณะรัฐมนตรี และพี่น้องข้าราชการ เพื่อพี่น้องประชาชนมาแล้ว 90 วันเต็ม ทำให้วันนี้ ‘ทุกคนคือทีมเดียวกัน’ และจะร่วมกันเดินไปข้างหน้าอย่างเต็มที่ วางรากฐานของประเทศไทยในทศวรรษหน้า ให้คนไทยมีกิน-มีใช้-มีเกียรติ-มีศักดิ์ศรี ประเทศไทยในปี 2568 จะเป็นปีแห่ง “โอกาส” รัฐบาลจะสร้างผลงานที่เป็นรูปธรรม เพื่อสร้างอนาคตที่เป็นจริง
นโยบายแรก คือ การแก้ไขปัญหา “น้ำท่วม-น้ำแล้ง” น้ำต้องเพียงพอสำหรับการอุปโภค บริโภค เกษตร และอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการทั้งระยะสั้น-กลาง-ระยะยาว ทั้งในเรื่องการศึกษาแนวทางที่จะอนุญาตให้ประชาชนขุดลอกคูคลองแล้วนำดินไปใช้หรือขายได้ และให้มีการศึกษาโครงการ Floodway และโครงสร้างขนาดใหญ่ที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้อย่างยั่งยืนด้วย รวมไปถึงการแก้ปัญหาน้ำท่วมที่ต้องมีการเจรจาและประสานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ดำเนินการในเรื่องนี้
นโยบายต่อมาคือเรื่องปัญหา ‘หมอกควัน’ นายกรัฐมนตรีประกาศ KPI ว่า PM 2.5 จะต้องลดน้อยลง ทั้งในแง่ปริมาณฝุ่นและตัวเลขประชาชนที่ป่วยจากฝุ่น ต้องลดลงทุกปี โดยปัจจุบันรัฐบาลควบคุมการเผาในประเทศ การเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านให้ลดการเผา (มอบรองนายกฯ ประเสริฐฯ) และการออกกฎหมาย พ.ร.บ. อากาศสะอาด เช่นเดียวกับเรื่องยาเสพติด ที่จะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยรัฐบาลเอาจริงเรื่องนี้ และขอให้ประชาชนช่วยกันตรวจสอบและเฝ้าสังเกต พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงการทำแพลตฟอร์มให้ประชาชนได้สามารถแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับยาเสพติดส่งถึงนายกรัฐมนตรีได้โดยตรง ซึ่งจะมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้แจ้งให้ประชาชนเกิดความมั่นใจ รวมถึงรัฐบาลจะใช้โมเดล โครงการท่าวังผาโมเดลและธวัชบุรีโมเดล มาใช้ในการแก้ปัญหายาเสพติดด้วย และให้มีการขยายการดำเนินการดังกล่าวไปทั่วประเทศต่อไป โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ดำเนินการในเรื่องนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า “การผูกขาดทุกชนิด เป็นการเพิ่มต้นทุนให้ประชาชน และทำให้พี่น้องประชาชนยากจนลง” รัฐบาลจะเร่งดำเนินการปลดล็อกการผูกขาด โดยเฉพาะ เรื่องข้าว ที่ตั้งเป้าให้เกษตรกรทุกคนและผู้ค้าข้าว SMEs สามารถส่งออกข้าวไปทั่วโลกได้เอง หรือการปลดล็อกการผูกขาดราคาพลังงานด้วยเงื่อนไขทางกฎหมาย เพื่อปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้า ค่าพลังงานให้ถูกลงให้ได้ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ดำเนินการเรื่องนี้ ส่วนในเรื่องของกฎหมายหรือกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องและทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น นายกรัฐมนตรีได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการแล้ว โดยขณะนี้ทุกกระทรวงกำลังพิจารณาดำเนินการแก้ไขในส่วนของกฎหมายและกฎต่าง ๆ อยู่
ประเด็นต่อมา รัฐบาลจะนำธุรกิจใต้ดินขึ้นมาอยู่บนดินและกำกับให้ถูกกฎหมาย คาดว่าธุรกิจใต้ดินมีมูลค่ากว่า 49% ของ GDP ไทย รวมไปถึงการที่รัฐบาลจะส่งเสริมเรื่องของสุราชุมชน ซึ่งเชื่อว่าเกษตรกรจะได้ประโยชน์จากเรื่องนี้ เนื่องจากพบว่าข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ของไทย เช่น ซอฟต์ดริงก์ ทั้งน้ำแร่ หรือน้ำหวานต่าง ๆ มีการส่งออกมากกว่าปีละ 7 หมื่นล้านบาท และรัฐสามารถเก็บภาษีได้ถึง 185,000 ล้านบาท/ปี การแก้ปัญหานี้จะทำให้รัฐบาลปกป้องประชาชนได้และยังเป็นรายได้ของรัฐบาลด้วย โดยนายกรัฐมนตรีฝากเรื่องนี้ให้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไปดำเนินการต่อไป
ในเรื่องเทคโนโลยี และ AI รัฐบาลไทยตั้งเป้าจะเป็น AI Hub ของภูมิภาค เนื่องจากในปัจจุบัน มีบริษัทใหญ่มาลงทุนทำศูนย์ข้อมูล (Data center) เป็นเงินลงทุนมากกว่าล้านล้านบาทแล้ว ขณะนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะสร้างคนในเรื่องของเทคโนโลยีและ AI โดยให้ไปเรียนในระดับมหาวิทยาลัยให้มากขึ้น ตั้งเป้า 280,000 คน ภายใน 5 ปี เพื่อให้ประเทศไทยรองรับกับธุรกิจนี้ในอนาคต รวมไปถึงการขับเคลื่อนดำเนินการในเรื่องพลังงานสีเขียว (Green Energy) เพื่อดึงดูดนักลงทุนและให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ในส่วนของนโยบายใหม่ที่จะเกิดขึ้นในปี 2568 นายกรัฐมนตรีได้กล่าวถึงการนำนโยบาย ‘หนึ่งอำเภอ หนึ่งทุน’ หรือ ODOS กลับมาอีกครั้ง โดยใช้งบประมาณจากการขายสลากกินแบ่งรัฐบาล รวมทั้งมีโครงการที่เปิดโอกาสให้เด็กไทยได้ไปฝึกภาษาที่ต่างประเทศเป็นเวลาสั้น ๆ ในโครงการ ‘1 อำเภอ 1 ซัมเมอร์แคมป์’ และโครงการอัปเกรดโรงเรียนประจำอำเภอ ทำให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ เติมครู เติมเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา และ AI ให้เด็ก ๆ ในทุกอำเภอ เพื่อเตรียมพร้อมเด็กไทยสู่การเติบโตที่เข้มแข็งและแข็งแรง และมีการศึกษาที่ดี ซึ่งทั้งหมดนี้จะเริ่มให้ลงทะเบียนในปี 2568 นี้ โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดำเนินการและบูรณาการทำงานร่วมกันในเรื่องนี้
รวมไปถึงการให้โอกาสคนทุกตำบลหมู่บ้านในการคิดและลงมือแก้ไขปัญหาในพื้นที่ผ่านโครงการ SML ของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองที่จะกระจายโอกาสและเงินลงไปในทุกหมู่บ้าน พร้อมกับกองทุนเพื่อฟื้นฟู SME ซึ่งเป็นฐานรากของเศรษฐกิจไทยอีกกว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อให้ SME กลับมายืนได้อย่างเข้มแข็ง
นอกจากนี้ยังมี โครงการ ‘บ้านเพื่อคนไทย’ (Public Housing) คอนโดคุณภาพดีพร้อมเฟอร์นิเจอร์พร้อมอยู่ เริ่มต้นประมาณ 30 ตารางเมตร ผ่อนเดือนละประมาณ 4,000 บาท เป็นเวลาประมาณ 25 ปี และให้สิทธิอยู่อาศัย 99 ปี ที่จะเป็นความหวังของคนไทยที่อยากมีบ้าน โดยนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
อีกทั้ง รัฐบาลการดำเนินการขับเคลื่อนเรื่องรถไฟฟ้า 20 ตลอดสายให้เกิดขึ้นจริง โดยขณะนี้ดำเนินการแล้วในสายสีแดงและสีม่วง เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการรถไฟฟ้าและลดรายจ่ายให้ประชาชนด้วย
ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรีประกาศว่า จะดำเนินโครงการเงินหมื่นฟื้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 โดยเงินสดจะถึงมือผู้สูงอายุประมาณ 4 ล้านรายไม่เกินตรุษจีนนี้ หลังจากนั้น จะดำเนินการระยะที่ 3 สำหรับบุคคลทั่วไป เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่องพร้อมกับยกระดับประเทศไทยให้ก้าวสู่ยุคดิจิทัล เกิดการเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐและประชาชน ทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น
นโยบายสุดท้ายที่แถลง คือ การแก้หนี้ครัวเรือน โดยเน้นที่หนี้ ‘รถยนต์’ และ ‘บ้าน’ โดยธนาคารแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคาร ตกลงที่จะลดการส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูลง 0.23% ซึ่งเป็นเงินกว่า 39,000 ล้านต่อปี และธนาคารพาณิชย์จะเติมให้อีก 39,000 รวมกันเป็น 78,000 ล้านบาทต่อปี เพื่อพักดอกเบี้ย 3 ปี ให้ลูกหนี้จ่ายคืนเงินต้นได้เต็มจำนวน โดยจะเริ่มดำเนินการในต้นปี 2568 พร้อมมาตรการประนอมหนี้แบบพิเศษที่จะล้างหนี้ให้ทั้งหมด สำหรับลูกหนี้มูลหนี้ต่ำกว่า 5,000 บาท โดย 2 ปีกว่า ๆ ที่เหลืออยู่ของรัฐบาลประชาชนต้องมีความเป็นอยู่ดีขึ้น และเศรษฐกิจต้องดีขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ดำเนินการในเรื่องนี้ต่อไป
“ทั้งหมดเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจริงในปี 2568 ซึ่งเราได้เห็นกันแล้วว่า ความหวัง ความช่วยเหลือต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่เป็นไปได้ เป็นอนาคตที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ และเกิดขึ้นอย่างแน่นอน วันนี้คณะรัฐมนตรี ทีมข้าราชการ นักการเมือง ประชาชน เราต่างมีหัวใจเดียวกันคือ การทำงานเพื่อรับใช้พี่น้องประชาชน การทำให้ประไทยดีขึ้น วันนี้อยากให้เพื่อนข้าราชการทุกท่านยึดคติในใจว่า หลังจากนี้ จะเป็นปีแห่งการสร้าง ‘People Empowerment’ เพิ่มอำนาจประชาชน ลดอำนาจเรา หรือการลดและเพิ่มประสิทธิภาพของภาครัฐ” นายกรัฐมนตรี กล่าว
ที่มา: ข่าวกระทรวง – ด้านเศรษฐกิจ