°
, November 21, 2024 in
Breaking News
ผู้ตรวจทาวันฯ ลงพื้นที่กระบี่ ตรวจราชการ รอบที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย MIND ใช้ หัว และ ใจ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”
  – ข่าว24
ข่าวธุรกิจ
0

ผู้ตรวจทาวันฯ ลงพื้นที่กระบี่ ตรวจราชการ รอบที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย MIND ใช้ หัว และ ใจ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน” – ข่าว24

ผู้ตรวจทาวันฯ ลงพื้นที่กระบี่ ตรวจราชการ รอบที่ 1 ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย เน้นย้ำการขับเคลื่อนนโยบาย MIND ใช้ หัว และ ใจ “ปั้นอุตสาหกรรมคู่ชุมชน”
  – ข่าว24

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 เวลา 09.30 น.ณ ห้องประชุมสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่
นายทาวัน ทวีถาวรสวัสดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมการตรวจราชการกรณีปกติ รอบที่ 1/2566 ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาคเอชนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ประกอบด้วย
นายภูวดิท ปรีชานนท์ ที่ปรึกษาผู้ตรวจราชการภาคประชาชน ด้านเศรษฐกิจ นายพลวัตร ณ นคร กรรมการหอการค้าจังหวัดกระบี่
นางตุลมาศ สุขศรีเมือง ผู้จัดการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย สาขากระบี่ นายพีรณัฐ สวัสดิจันทร์ และนางสาวภัทรวี จันทวงศ์ ผู้แทนประธานสภาอุตสาหกกรมจังหวัดกระบี่ พร้อมด้วยนายวัชรินทร์ ไชยานุพงศ์ อุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ และข้าราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อมอบแนวทางการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในจังหวัด ตามแนวทางการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสู่วิถีแนวใหม่ 4 มิติ อย่างสมดุลและยั่งยืน ตามนโยบาย ของท่านปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม และนำเสนอมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม เพื่อประชาสัมพันธ์ในส่วนของสิทธิประโยชน์กระตุ้นการลงทุน เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม เพื่อบูรณาการการทำงานร่วมกันกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรับทราบปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่ ซึ่งจากการประชุมดังกล่าวมีประเด็นและข้อเสนอแนะที่สำคัญเพื่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ดังนี้
1. ให้สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ ประชาสัมพันธ์ มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ตามประกาศ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2565 เพื่อประชาสัมพันธ์ในส่วนของสิทธิประโยชน์กระตุ้น การลงทุน เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม มุ่งสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
2. ภาคเอกชนขานรับแนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแนวทาง วิถีใหม่ ทั้ง 4 มิติ
3. การขับเคลื่อนการสร้างแบรนด์ผลิตภัณฑ์ที่มีศักยภาพ สู่ The Best of Krabi โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ได้ มผช. มายกระดับและขับเคลื่อนต่อยอด ไปสู่ระดับของความสำเร็จทางธุรกิจ
4. การขับเคลื่อนตามแนวทาง Krabi Go Green และ Zero Waste Industry ทั้งในสถานประกอบการท่องเที่ยวและผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถมีกระบวนการผลิตมีประสิทธิภาพทำให้เกิด Zero Waste ในภาคอุตสาหกรรม
5. การผลักดันให้มีการเปิดการเจรจาหารือร่วมกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เพื่อให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มที่มีการผลิต Biogass และ Biomass
จำหน่ายไฟฟ้าได้และอยู่ในอัตราต่อหน่วยที่คุ้มทุน และเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานในจังหวัดภาคใต้ ทั้งนี้ จะต้องมีข้อมูลเกี่ยวกับกำลังการผลิต และศักยภาพการผลิตและจำหน่าย
6. การผลักดันและยกระดับให้กระบี่เป็นเมืองอุตสาหกรรม สกัดน้ำมันปาล์มตามกระบวนการโอลีโอเคมีคอลที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีศักยภาพสูง
7. การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ สู่ S-Curve และ ผลักดันให้มีการส่งออกสินค้าและผลิตภัณฑ์ ไปสู่ตลาดต่างประเทศมากขึ้น เช่น ตลาดอินเดีย ซึ่งมีความสนใจ โดยการเสนอให้มีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกในพื้นที่ที่มีศักยภาพเหมาะสม ทั้งนี้ ทุกภาคส่วนในพื้นที่และผู้บริหารของจังหวัด จะต้องมีความเห็นชอบ ร่วมกัน และจะต้องมีการทำ EIA และ EHIA เพื่อร่วมกันผลักดันไปสู่ระดับนโยบายให้เกิดขึ้นในอนาคต
8. การส่งเสริมให้มีการนำงานวิจัยและผลการศึกษาของ มหาวิทยาลัย ในพื้นที่ เกี่ยวกับเรื่องปาล์มน้ำมันมาใช้ในสถานประกอบการ เช่น การผลิตน้ำมันปาล์มแดง การเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์จากปาล์มน้ำมันมาต่อยอดในเชิงธุรกิจ ภายใต้แนวคิด BCG Model เป็นต้น โดยจะต้องร่วมกันผลักดันเข้าสู่องค์กรภาคีเครือข่าย ได้แก่ กอช. และ สวทช. เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
9. การขอให้ผู้ประกอบการโรงงานขับเคลื่อนกิจกรรม CSR ที่จริงใจและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมโดยรอบโรงงานอย่างเป็นรูปธรรม โดยคำนึงถึงสิ่งที่จะสะท้อนกลับคืนมาสู่ภาคธุรกิจที่เป็น Core Business และความยั่งยืนที่เกิดขึ้นกับชุมชนด้วย
10. การขับเคลื่อนนโยบาย กระบี่ปลอดโฟมอย่างต่อเนื่อง หลังจากดำเนินการมาแล้ว 16 ปี โดยหอการค้าจังหวัดกระบี่ เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับจังหวัด ผู้ประกอยการร้านอาหารและภาคประชาชน
11. การส่งเสริมให้มีการนำผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์จากวัสดุปาล์มน้ำมันมาใช้ เช่น ภาชนะ เพื่อสร้างมูลค่า และเป็นจุดเด่น ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่สำคัญมีอยู่เป็นจำนวนมากในจังหวัดกระบี่
12. การดำเนินการตามแนวทางเศรษฐกิจ BCG Model ต้นแบบ ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในพื้นที่ เช่น สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดกระบี่ ซึ่งอยู่ระหว่างดำเนินกิจกรรมโครงการเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ภาคเกษตรจากวัสดุเหลือใช้ (ต้นปาล์ม ทางปาล์ม) เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ มีองค์ความรู้นำมาแปรรูปผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าสินค้า และมีอัตลักษณ์ ในส่วนภาคเอกชนโดยหอการค้าจังหวัดกระบี่ กำลังขับเคลื่อนการนำขยะมาแปรรูปเป็นเสื้อผ้า การนำขยะทะเลมาผลิตเป็นของที่ระลึก จำหน่ายสร้างมูลค่าเพิ่ม การส่งเสริมให้ผู้ประกอบการโรงแรมและร้านอาหาร นำของเสีย Waste มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในสถานประกอบการ และดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตอบโจทย์การขับเคลื่อน Circular Economy
13. การสนับสนุนผลักดันให้กระบี่ เป็น Cargo Hub และ Multi Modal Transportation ในการส่งสินค้าที่เกี่ยวเนื่องภาคการเกษตร ออกทางอากาศ และทางอื่นไม่ว่าจะเป็น ปศุสัตว์ หรือประมง ซึ่งจะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และจะต้องศึกษา กฎหมาย หรือระเบียบที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน
14. การเสนอให้มีการกำหนดวงเงินขั้นต่ำของแต่ละจังหวัด ในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อ อนุมัติเงินจากกองทุนของ ธพว. ให้กับผู้ประกอบการในพื้นที่ ซึ่งอาจพิจารณาให้จังหวัดที่มีศักยภาพ เช่น จังหวัดที่มีจุดขาย และมีรายได้จากภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่สูง ได้รับวงเงินในส่วนนี้สูงกว่าจังหวัดทั่วไป และเสนอให้มีวงเงินส่วนกลาง สำหรับจังหวัดทั่วประเทศ จะได้รับตามศักยภาพและความพร้อมของผู้ประกอบการ โดยจะนำเรื่องดังกล่าวเสนอไปยังคณะกรรมการกองทุน เพื่อพิจารณาต่อไป สำหรับมาตรการพักชำระหนี้นั้น จะช่วยให้ผู้ประกอบการมีสภาพคล่อง และสามารถประกอบธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง แต่ทั้งนี้ หากมีการขยาย การพักชำระหนี้ จะต้องคำนึงถึงความไม่แน่นอน Uncertainty ตามสถานการณ์ที่ผันผวนด้วย รวมทั้งให้ ธพว. เร่งรัดติดตามหนี้ NPL ในระบบ

ทั้งนี้ ท่านผู้ตรวจทาวันฯ ได้มอบนโยบายภาพรวมในการร่วมกันขับเคลื่อนผลักดันการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดกระบี่ร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน รวมถึงชุมชนและสังคม และ
ที่สำคัญการพัฒนาในด้านต่าง ๆ นั้น จะต้องได้รับความเห็นชอบ จากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดกระบี่ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากจังหวัดกระบี่ เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพสูง มีรายได้ต่อหัว ประชากรที่สูงและมีทรัพยากรที่มีความหลากหลาย ซึ่งเป็นต้นทุนที่ได้เปรียบต่อการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ อนึ่ง ผู้ตรวจทาวันฯ จะเดินทางมาติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของภาคีเครือข่าย ภาคเอกชนในพื้นที่ในโอกาสต่อไปอีกครั้งหนึ่ง

ที่มา: ข่าวกระทรวง – ด้านเศรษฐกิจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *